Sunday, September 2, 2012

คำถามจากกรอบแนวคิดศตวรรษที่ 21


คำถาม
1. คุณคิดว่า แนวคิดทางการศึกษาของเข้าข่ายลักษณะที่ว่า “สวยแต่รูป จูบไม่หอม” หรือไม่
คำตอบ
เห็นด้วยกึ่งหนึ่ง ที่ว่า การเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จเพราะเด็กนักเรียน “เข้าถึง” เนื้อหาสาระไม่ถึง 50% ของเนื้อหาในข้อสอบด้วยซ้ำไป ทั้งในห้องเรียนและที่บ้าน เนื่องจากการประเมินผลทางการเรียนในตอนกลางภาคหรือปลายภาคนั้น ไม่มีนักเรียนคนไหนอยากจะอ่านหนังสือสอบ ก็มีสาเหตุมาจากไม่มีครูคนใดอยากให้เกิดปัญหากับตัวเด็กเองและตัวครูเอง จึงส่งต่อเด็กที่ไม่เข้าใจเนื้อหาจากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง

คำถาม
2. ตัวอย่างลักษณะการประเมินผลอย่างน้อยทุก ๆ 2 สัปดาห์ในรายวิชาหนึ่ง
       บทที่ 1-5            ทดสอบย่อย 5 % (week 2)
       บทที่ 6-10         ทดสอบย่อย 5 % (week 5)
บทที่ 1-10         ทดสอบกลางภาค 40 %  (week 8)
       บทที่ 11-15      ทดสอบย่อย 5 % (week 11)
บทที่ 16-20      ทดสอบย่อย 5 % (week 13)
บทที่ 11-20      ทดสอบปลายภาค 40 % (week 16)
คุณคิดว่าจะใช้กับการศึกษาระดับใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

คำตอบ
ระดับใดก็ได้ที่รัฐสนับสนุน ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ตามความเป็นจริงนั้น การจะจัดสอบแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก แต่เมื่อเทียบกับผลที่ได้รับกลับมาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
ผลดีที่ว่าก็คือ เด็กนักเรียนจะต้องอยู่กับบทเรียนมากขึ้นเกือบจะ 100 % โดยที่ไม่ต้องให้มีใครมาค่อยบอกกล่าวว่าให้อ่านหนังสือสอบ และทำให้เด็กค่อย ๆ ซึมซับเนื้อหาและรู้ถึงข้อด้อยของตัวเองก่อนวันสอบจริง ๆ
          แต่การจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องอาศัยหลายฝ่ายช่วยกันผลักดัน ใครคนหนึ่งคนใดก็ไม่สามารถจะทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ และยิ่งถ้าองค์กรดังกล่าวไม่มีความเป็นอิสระมากพอในเรื่องงบประมาณในการจัดการประเมินผล ก็คงจะพอเห็นเค้าลางของวิถีแบบเก่า ๆ นั่นเอง

คำถาม
3. เราจำเป็นจะต้องนำกรอบแนวคิดทางการเรียนรู้ของชาติตะวันตก มาใช้เท่านั้นเหรอ แล้วแนวคิดของชาติตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี มีอะไรที่เราสามารถนำมาปรับใช้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

คำตอบ ….


คำถาม
4. จะเป็นไปได้หรือไม่ที่คนเราสามารถจะเรียนรู้จากสิ่งหนึ่งผ่านอีกสิ่งหนึ่ง
คำตอบ
คิดว่าได้ 100 % เพราะดูได้จากโครงการหลวงต่างๆ ที่ให้ครูชาวมุสลิมสอนภาษาไทยผ่านภาษาอาหรับ หรือภาษาถิ่นตามแต่ละท้องที่




5. จริงหรือที่ว่า การศึกษาแบบโบราณ “ดีกว่า” แบบสมัยใหม่
ตอบ
เห็นด้วย
เพราะสมัยโบราณยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่น นายขนมต้ม หรือขุนแผน ที่รู้ว่าตัวเองชอบวิชาด้านใดจริง ๆ ก็ไปร่ำเรียนจนจบหลักสูตรชนิดเข้มข้นจริง ๆ แต่การศึกษายุคใหม่เอาหลักสูตรเป็นที่ตั้ง แล้วก็ยัดเยียดสิ่งที่เด็กไม่คิดอยากจะได้เลยจริง ๆ เอาจนเด็กไทยหล้ากับการเรียนก็หันไปพึ่งพาสิ่งยั่วเย้าต่าง ๆ อย่าลืมว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่มีใครคิดอยากจะแก้ปัญหาแบบเฉียดขาดสักคน สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการโอนอ่อนผ่อนตาม การเป็นเช่นนี้ของเรามีข้อดีอยู่บ้างเพียงแต่ว่าผู้นำก็ต้องเป็นคนเปิดโอกาสให้แก่เราได้เดินบ้าง ไม่ใช่กดดันกันอยู่อย่างนี้
ทางออกของเราในตอนนี้ แอนตี้กันทั้งระบบ ก็คือ หากเด็กชอบชกต่อยก็ส่งเข้าสนามมวยแต่เด็ก ๆ ตั้งแต่เป็นเด็กทำความสะอาดค่ายฝึก จนไปถึงการเป็นโค้ช กรณีจะเป็นได้จริงหาก ประเทศไทยมี “ครูแนะแนวที่ดี” แต่คนที่จะบอกว่าเด็กชอบหรือไม่ชอบอะไรก็คือ “พ่อแม่” หรือคนใกล้ชิดที่สุด
ส่งเสริมแนวคิดต่อต้านระบบโรงเรียนที่มีการสอนแบบ “ไก่ไข่” คือการสอนให้นักเรียนออกใข่ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
อย่าไปเอาผู้นำที่ “ยึดติด” กับหน้าที่ทางการงาน
ผู้ปกครองที่มีความรู้ต้องออกมาร่วมกันเปลี่ยนแนวคิดให้โรงเรียนอุดมปัญญาไม่ใช่ โรงเรียนอุดมปัญหา 



6.
ข้อความที่ 1 : ความรู้ที่หลากหลายไม่ทำให้คนกลายเป็นมนุษย์ หากความรู้นั้นไม่ได้สอดแทรกด้วยคุณธรรมจริยธรรม
ข้อความที่ 2 : การศึกษาเป็นสิ่งสูงค่า อะไรที่ใช้แบ่งชนชั้นในสมัยโบราณ หากไม่ใช่ “ความรู้”
ข้อความที่ 3 : จะเป็นไปได้หรือไม่ที่กลับไปใช้ระบบชนชั้นอย่างแต่ก่อน แล้วใครจะเป็นนาย แล้วใครจะเป็นบ่าว
คำถาม
ข้อความทั้ง 3 ข้างต้นต้องการสะท้อนแนวคิดเช่นใดกับการศึกษาไทย เพราะเหตุใด