Wednesday, December 26, 2012

家 เกี่ยวข้องกับ..คน


วันนี้เราจะเรียนต่อจากเมื่อวานนะครับ
นั่นก็คือคำว่า  Zhe3 = เจ(ร)อะ แปลว่า คน, ผู้...
เป็นตัวกำกับหมวดหมู่ตัวที่ 125
Compounds
新聞記者Xīnwén jìzhě
人気者Rénqìzhě
愛国者Àiguó zhě = คนรักชาติ
愛読者Ài dúzhě
悪者Èzhě
芸者Yúnzhě
配偶者Pèi'ǒu zhě = คู่ครอง
被害者Bèihài zhě = เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย
利用者Lìyòng zhě = ผู้ใช้งาน
担当者Dāndāng zhě = บุคคลที่รับผิดชอบ
忍者 (ninja) Rěnzhě = นินจา
医者 (doctor) Yīzhě = healer
著者Zhùzhě = ผู้เขียน




ตัวอย่างที่ผู้เขียนยกขึ้นมาพอให้เห็นภาพว่า
อะไรก็ตามที่ลงท้ายตัวตัวอักษร  Zhe3 = เจ(ร)อะ
จะเกี่ยวข้องกับ ผู้คน


 นอกจากคำว่า  Zhe3 = เจ(ร)อะ แปลว่า คน, ผู้...           
ก็ยังมีคำอื่น ๆ ที่แปลว่า คน, ผู้...
ทำนองเดียวกับคำว่า  Zhe3 = เจ(ร)อะ
เช่นคำว่า Jia1 = เจีย ที่เราเพิ่งเรียนเมื่อวานนั้น




คำว่า Jia1 = เจีย
ปกติจะแปลว่า บ้าน
แต่เมื่อผสมกับคำศัพท์อื่น แล้วเขียนไว้ตอนท้าย
คำว่า Jia1 = เจีย
ก็จะแปลว่า คน,ผู้.....
เช่นเดียวกับคำว่า  Zhe3 = เจ(ร)อะ
ที่แปลว่า คน, ผู้...,นัก....
นั่นเองครับ


วันนี้ขอเสนอคำว่า “นักชีววิทยา”
生物学家
Sheng1wu4 xue2jia1
เส(ซิ)งอู้ เสวเจีย





















Tuesday, December 25, 2012

家 บ้าน..ต้องมี..หมู














Jia1 = เจีย แปลว่า บ้าน
ครับผม ทุกคนทุกท่าน
จากการเดาความของคำว่า บ้าน ในภาษาจีนกลางนี้นั้น
น่าจะเดาได้ว่า
๑.เกิดจากส่วนบนของคำว่าJia1 = เจีย แปลว่า บ้าน
คือส่วนของหลังคาบ้าน
และคนที่เรียนภาษาจีนกลางก็มักจะเรียกตัวอักษรส่วนหัวว่า หลังคาบ้าน
และ
๒. คำว่า จ(รู) แปลว่า หมู
อู๊ด ๆ นั่นเองครับ


เมื่อพูดถึงคำว่า หมู
ตามวัฒนธรรมของคนจีนโบราณแล้วนั้น
หากบ้านไหนสามารถเลี้ยงหมูไว้
และสามารถแพร่พันธุ์ให้ออกลูกออกหลานได้มาก ๆ
ก็จะถือว่า บ้านนั้นร่ำรวยและอุดมสมบูรณ์
นี่จึงน่าจะเป็นที่มาของคำว่าJia1 = เจีย แปลว่า บ้าน
นี่เองครับ


คำว่า จ(รู) แปลว่า หมู
เกิดจากคำสองคำ คือ
๑.ตัวกำกับคำว่า สัตว์สี่เท้า
ที่เขียนด้านข้างซ้ายของคำว่าจ(รู) แปลว่า หมู
และ
๒.ตัวกำกับในการอ่านออกเสียง ซึ่งก็คือคำว่าZhe3 = เจ(ร)อะ
ซึ่งเป็นตัวกำกับหมวดหมู่ตัวที่ 125










Sunday, December 23, 2012

ระบบปฏิบัติการ Android


การใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android)
เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด ที่มีข้อดีคือมีความหลากหลาย
สามารถต่อยอดหรือพัฒนาโดยกลุ่มผู้ใช้เองได้

แต่ข้อเสียที่ตามมาก็คือ
ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของระบบ
ยกตัวอย่าง เช่น การควบคุมการทำงานของโปรแกรมต่างๆ อาจจะไม่เหมือนกันเลย
ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมากนัก อาจจะรู้สึกว่าใช้งานยาก ไม่สะดวกสบาย
และที่สำคัญคือ การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android)
ยังไม่ดีเท่าระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) เท่าที่ควร

ส่วนในการใช้งานระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) นั้น
จะมีความง่ายและสะดวกของผู้ใช้ในการใช้งาน (User Friendly)
และที่สำคัญเนื่องด้วยระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS)
เป็นระบบปฏิบัติการแบบ ปิด
ทำให้สามารถควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันได้
ดังนั้น ทุกๆ อย่างที่อยู่ในระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS)
จะมีความสอดคล้องและพัฒนามีเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์เฉพาะของบริษัทเอง
ทำให้มีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกันหมด ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายมาก

แอพพลิเคชั่น (Applications) ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android)
ผู้ใช้สามารถร่วมสร้างแอพพลิเคชั่น (Applications) ที่ตอบสนองผู้ใช้งานได้
จึงทำให้ในระยะเพียงไม่กี่ปี
มียอดการเจริญเติบโตของแอพพลิเคชั่น (Applications)
เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมสูงสุด

Sunday, September 2, 2012

คำถามจากกรอบแนวคิดศตวรรษที่ 21


คำถาม
1. คุณคิดว่า แนวคิดทางการศึกษาของเข้าข่ายลักษณะที่ว่า “สวยแต่รูป จูบไม่หอม” หรือไม่
คำตอบ
เห็นด้วยกึ่งหนึ่ง ที่ว่า การเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จเพราะเด็กนักเรียน “เข้าถึง” เนื้อหาสาระไม่ถึง 50% ของเนื้อหาในข้อสอบด้วยซ้ำไป ทั้งในห้องเรียนและที่บ้าน เนื่องจากการประเมินผลทางการเรียนในตอนกลางภาคหรือปลายภาคนั้น ไม่มีนักเรียนคนไหนอยากจะอ่านหนังสือสอบ ก็มีสาเหตุมาจากไม่มีครูคนใดอยากให้เกิดปัญหากับตัวเด็กเองและตัวครูเอง จึงส่งต่อเด็กที่ไม่เข้าใจเนื้อหาจากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง

คำถาม
2. ตัวอย่างลักษณะการประเมินผลอย่างน้อยทุก ๆ 2 สัปดาห์ในรายวิชาหนึ่ง
       บทที่ 1-5            ทดสอบย่อย 5 % (week 2)
       บทที่ 6-10         ทดสอบย่อย 5 % (week 5)
บทที่ 1-10         ทดสอบกลางภาค 40 %  (week 8)
       บทที่ 11-15      ทดสอบย่อย 5 % (week 11)
บทที่ 16-20      ทดสอบย่อย 5 % (week 13)
บทที่ 11-20      ทดสอบปลายภาค 40 % (week 16)
คุณคิดว่าจะใช้กับการศึกษาระดับใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

คำตอบ
ระดับใดก็ได้ที่รัฐสนับสนุน ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ตามความเป็นจริงนั้น การจะจัดสอบแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก แต่เมื่อเทียบกับผลที่ได้รับกลับมาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
ผลดีที่ว่าก็คือ เด็กนักเรียนจะต้องอยู่กับบทเรียนมากขึ้นเกือบจะ 100 % โดยที่ไม่ต้องให้มีใครมาค่อยบอกกล่าวว่าให้อ่านหนังสือสอบ และทำให้เด็กค่อย ๆ ซึมซับเนื้อหาและรู้ถึงข้อด้อยของตัวเองก่อนวันสอบจริง ๆ
          แต่การจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องอาศัยหลายฝ่ายช่วยกันผลักดัน ใครคนหนึ่งคนใดก็ไม่สามารถจะทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ และยิ่งถ้าองค์กรดังกล่าวไม่มีความเป็นอิสระมากพอในเรื่องงบประมาณในการจัดการประเมินผล ก็คงจะพอเห็นเค้าลางของวิถีแบบเก่า ๆ นั่นเอง

คำถาม
3. เราจำเป็นจะต้องนำกรอบแนวคิดทางการเรียนรู้ของชาติตะวันตก มาใช้เท่านั้นเหรอ แล้วแนวคิดของชาติตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี มีอะไรที่เราสามารถนำมาปรับใช้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

คำตอบ ….


คำถาม
4. จะเป็นไปได้หรือไม่ที่คนเราสามารถจะเรียนรู้จากสิ่งหนึ่งผ่านอีกสิ่งหนึ่ง
คำตอบ
คิดว่าได้ 100 % เพราะดูได้จากโครงการหลวงต่างๆ ที่ให้ครูชาวมุสลิมสอนภาษาไทยผ่านภาษาอาหรับ หรือภาษาถิ่นตามแต่ละท้องที่




5. จริงหรือที่ว่า การศึกษาแบบโบราณ “ดีกว่า” แบบสมัยใหม่
ตอบ
เห็นด้วย
เพราะสมัยโบราณยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่น นายขนมต้ม หรือขุนแผน ที่รู้ว่าตัวเองชอบวิชาด้านใดจริง ๆ ก็ไปร่ำเรียนจนจบหลักสูตรชนิดเข้มข้นจริง ๆ แต่การศึกษายุคใหม่เอาหลักสูตรเป็นที่ตั้ง แล้วก็ยัดเยียดสิ่งที่เด็กไม่คิดอยากจะได้เลยจริง ๆ เอาจนเด็กไทยหล้ากับการเรียนก็หันไปพึ่งพาสิ่งยั่วเย้าต่าง ๆ อย่าลืมว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่มีใครคิดอยากจะแก้ปัญหาแบบเฉียดขาดสักคน สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการโอนอ่อนผ่อนตาม การเป็นเช่นนี้ของเรามีข้อดีอยู่บ้างเพียงแต่ว่าผู้นำก็ต้องเป็นคนเปิดโอกาสให้แก่เราได้เดินบ้าง ไม่ใช่กดดันกันอยู่อย่างนี้
ทางออกของเราในตอนนี้ แอนตี้กันทั้งระบบ ก็คือ หากเด็กชอบชกต่อยก็ส่งเข้าสนามมวยแต่เด็ก ๆ ตั้งแต่เป็นเด็กทำความสะอาดค่ายฝึก จนไปถึงการเป็นโค้ช กรณีจะเป็นได้จริงหาก ประเทศไทยมี “ครูแนะแนวที่ดี” แต่คนที่จะบอกว่าเด็กชอบหรือไม่ชอบอะไรก็คือ “พ่อแม่” หรือคนใกล้ชิดที่สุด
ส่งเสริมแนวคิดต่อต้านระบบโรงเรียนที่มีการสอนแบบ “ไก่ไข่” คือการสอนให้นักเรียนออกใข่ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
อย่าไปเอาผู้นำที่ “ยึดติด” กับหน้าที่ทางการงาน
ผู้ปกครองที่มีความรู้ต้องออกมาร่วมกันเปลี่ยนแนวคิดให้โรงเรียนอุดมปัญญาไม่ใช่ โรงเรียนอุดมปัญหา 



6.
ข้อความที่ 1 : ความรู้ที่หลากหลายไม่ทำให้คนกลายเป็นมนุษย์ หากความรู้นั้นไม่ได้สอดแทรกด้วยคุณธรรมจริยธรรม
ข้อความที่ 2 : การศึกษาเป็นสิ่งสูงค่า อะไรที่ใช้แบ่งชนชั้นในสมัยโบราณ หากไม่ใช่ “ความรู้”
ข้อความที่ 3 : จะเป็นไปได้หรือไม่ที่กลับไปใช้ระบบชนชั้นอย่างแต่ก่อน แล้วใครจะเป็นนาย แล้วใครจะเป็นบ่าว
คำถาม
ข้อความทั้ง 3 ข้างต้นต้องการสะท้อนแนวคิดเช่นใดกับการศึกษาไทย เพราะเหตุใด